top of page
รูปภาพนักเขียนAdmin

ไม้สนรัสเซีย VS ไม้สนนิวซีแลนด์

อัปเดตเมื่อ 15 ต.ค.

ไม้สนรัสเซียตอนเหนือ ดีจริงหรือเปล่า? แตกต่างจากไม้สนทั่วไปในยุโรปยังไง แล้วทำไมลายไม้ไม่เหมือนไม้สนนิวซีแลนด์ตอนใต้เลยล่ะ?


คุณอาจจะสงสัยความแตกต่างของไม้สนทั้ง 2 ชนิดนี้ วันนี้เราจะมาเสนอเนื้อหาเปรียบเทียบ สนรัสเซีย VS สนนิวซีแลนด์ เพื่อไขข้อสงสัยนี้กัน


จริงๆแล้วไม้สนมีหลากหลายสายพันธุ์มาก ไม่ว่าจะ Pine, Spruce, Fir, Douglas-fir เป็นต้น ซึ่งคนไทยล้วนเรียกรวมว่า”สน” หมดทุกสายพันธุ์ ซึ่งไม้แปรรูปที่ได้จากไม้เหล่านี้ก็ให้ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เช่น ลายไม้ที่ตรง หรือลายไม้มีความโค้ง เพราะลักษณะของต้นไม้ไม่เหมือนกัน รวมทั้งตาไม้ที่มีปริมาณทั้งน้อยและมาก และลักษณะกลมหรือวงรีอีกด้วย


ไม้สน 2 ชนิดที่เราจะนำมาเปรียบเทียบความแตกต่าง ได้แก่สนรัสเซียพันธุ์ Picea Abies (European spruce) และ สนนิวซีแลนด์พันนธุ์ Pinus Radiata (Radiata pine) ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันพอสมควร สามารถหาได้ไม่ยากนักในไทย เพราะมีหลายบริษัทนำไม้สนทั้ง 2 ชนิดนี้เข้ามาในไทย โดยไม้สนทั้งสองชนิดให้ความสวยงามแก่การตกแต่งบ้านได้ทั้งคู่ สวยงามคนละแบบตามแต่ความชอบของแต่ละคน แต่รายละเอียดลึกๆย่อมต่างกันอย่างเห็นได้ชัด การเลือกใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักของผู้ใช้งานจึงจำเป็นอยู่พอสมควร


ไม้สนที่นำเข้ามาใช้ในไทยโดยส่วนใหญ่เป็นพันธุ์สน Radiata pine จากนิวซีแลนด์ หรือเรียกกันอย่างแพร่หลายว่าสนตอนใต้ มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บริเวณชายฝั่งแคลิฟอร์เนียของประเทศอเมริกา และถูกนำมาปลูกกันอย่างแพร่หลายในนิวซีแลนด์ การนำมาปลูกในเขตอบอุ่นของนิวซีแลนด์ทำให้ไม้สนโตไวมากกว่า และทำให้คุณลักษณะที่ดีลดลงไปแตกต่างจาก Radiata pine ที่ปลูกในอเมริกามากพอสมควร โดยไม้สนพันธุ์นี้มักจะมาจากการทำป่าไม้ยั่งยืนในนิวซีแลนด์ โดยปลูกต้นสนจนได้อายุประมาณ 30 ปี จึงได้ขนาดที่พอเหมาะในการตัดมาทำไม้แปรรูป ก่อนที่จะส่งมาจำหน่ายในไทย ทำให้หาได้ง่าย และมีราคาที่ไม่แพง


ไม้สนรัสเซียที่เรา SAK WoodWorks เลือกที่จะนำเข้ามานั้น เป็นสนพันธุ์ European Spruce ที่มีอยู่มากในแถบยุโรปไปจนถึงสแกนดิเนเวีย สามารถหาได้ง่าย และมีราคาที่ไม่แพงเช่นกัน แต่ก็ยังคงหาได้ยากและแพงกว่าไม้สนจากนิวซีแลนด์อยู่นิดหน่อย ไม้สนพันธุ์นี้ส่วนใหญ่มาจากการทำป่าไม้ยั่งยืนในยุโรป และด้วยภูมิอากาศที่แตกต่างของแต่ละพื้นที่ที่ใช้ปลูก ทำให้การเจริญเติบโตของไม้สนแตกต่างกันอีกด้วย โดยทั่วไปจะถูกตัดเมื่อมีอายุประมาณ 30 ปี แต่ไม้สนของเรา SAK WoodWorks มาจากไม้สนที่ปลูกในโวล็อกดา, อาร์ฮันเกลสค์ และคาเรลียา ประเทศรัสเซียทางตอนเหนือที่หนาวเหน็บมาก ทำให้ต้นสนบริเวณนี้โตช้า โดยใช้เวลาปลูกประมาณ 80 - 120 ปี จึงจะมีขนาดพอเหมาะในการตัด ทำให้เนื้อไม้สนในบริเวณนี้มีคุณลักษณะที่แกร่งกว่าไม้สนพันธุ์เดียวกันแต่ปลูกในยุโรปเขต ป่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซียมีความคล้ายคลึงกับภาคเหนือของสวีเดน นอร์เวย์ และฟินแลนด์เป็นอย่างมาก และเป็นที่ทราบกันดีว่าท่อนซุงจากป่าดังกล่าวนับว่าดีกว่าและมีราคาแพงกว่า



ไม้สนรัสเซีย,ไม้สนนิวซีแลนด์,ไม้สน,ไม้สนนอก,ไม้สนนำเข้า


ไม้สนรัสเซีย,ไม้สนนิวซีแลนด์,ไม้สน,ไม้สนนอก,ไม้สนนำเข้า

1. สี: มีสีขาวอมเหลือง สว่างกว่าไม้ทั่วๆไป แต่ยังคงเข้มกว่า European spruce

2. ลายไม้: ลายเข้ม ชัดเจน จากวงปีขนาดใหญ่ทำให้ได้ลายไม้ที่ใหญ่ มีตาไม้กระจายอยู่ทั่วเนื้อไม้

3. ความทนทาน (Toughness): มีค่าหลังอบแห้ง Low - up to 15 Nm ซึ่งมีค่าพอๆกันกับ European spruce เป็นค่าที่แสดงให้เห็นว่าไม้รับแรงอัดกระแทกได้ต่ำ เกิดรอยได้ง่ายหากได้กับการกระแทกแรงๆ

4. ความแข็งแกร่ง (Hardness): เนื้อไม้มีความแข็งหลังอบแห้งประมาณ 3.3 ซึ่งยังคงต่ำอยู่ เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย

5. การรับน้ำหนัก (Strength groups): หลังอบแห้งมีค่าอยู่ที่ SD6 ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ (SD1=ไม้รับน้ำหนักได้ดีที่สุด SD8=ไม้รับน้ำหนักได้น้อยที่สุด) เป็นค่าที่วัดจากการรับน้ำหนักสุงสุดของไม้จนไม้แตกหักหรือบิดงอ ซึ่งค่าที่ต่ำแสดงให้เห็นว่าไม่เหมาะกับการนำมาทำโครงสร้าง

6. ค่าการต้านแรงดัด (Stress grade): ค่า Stress grade อยู่ที่ F5-F14 MPa ซึ่งเป็นค่าแรงต้านภายในของเนื้อไม้ต่อการแตกหักหรือบิดงอซึ่ง F14 นับว่าเป็นค่าที่รับได้ต่ำสุดสำหรับไม้ที่ใช้ทำโครงสร้าง แสดงให้เห็นว่าไม้ชนิดนี้ไม่เหมาะกับการทำโครงสร้างซักเท่าไหร่

7. น้ำหนัก: น้ำหนักทั่วไปหลังอบแห้งอยู่ที่ 550 kg/m³

8. การหดตัว: เนื้อไม้หลังการอบแห้งมีค่าหดตัวขนานเส้นสัมผัส (Tangential shrinkage) ประมาณ 5% และ มีค่าหดตัวแนวรัศมี (Radial shrinkage) 3% นับเป็นค่าที่ปานกลางแสดงให้เห็นถึงการหดตัวที่ยังคงเกิดขึ้นได้ และไม้เกิดการโก่งงอได้ด้วย

9. ยางไม้: ไม้สนนิวซีแลนด์มียางมากกว่า ทำให้ติดกาวได้ยากกว่า และมีรอยไม่พึงประสงค์จากการย้อมสีได้ง่าย


ไม้สนรัสเซีย,ไม้สนนิวซีแลนด์,ไม้สน,ไม้สนนอก,ไม้สนนำเข้า

1. สี: มีสีขาวอมเหลือง สว่างกว่าไม้ทั่วๆไป และสว่างกว่าสนนิวซีแลนด์อีกด้วย

2. ลายไม้: ลายเข้ม ชัดเจน วงปีมีขนาดเล็กทำให้ได้ลายไม้ที่เล็กถี่สวยงาม มีตาไม้กระจายอยู่ทั่วเนื้อไม้ และมีตามากกว่าไม้สนนิวซีแลนด์

3. ความทนทาน (Toughness): มีค่าหลังอบแห้ง Low - up to 15 Nm ซึ่งมีค่าพอๆกันกับสนนิวซีแลนด์

4. ความแข็งแกร่ง (Hardness): เนื้อไม้มีความแข็งหลังอบแห้งมีค่าประมาณ 2 ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำเช่นกัน และแสดงให้เห็นถึงความทนทานต่อรอยขีดข่วนที่น้อยกว่าไม้สนนิวซีแลนด์อีกด้วย

5. การรับน้ำหนัก (Strength groups): หลังอบแห้งมีค่าอยู่ที่ SD5 ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (SD1=ไม้รับน้ำหนักได้ดีที่สุด SD8=ไม้รับน้ำหนักได้น้อยที่สุด) ค่าปานกลางแสดงให้เห็นว่าไม้รับน้ำหนักได้ดีพอสมควร ใช้ในงานก่อสร้างได้

6. ค่าการต้านแรงดัด (Stress grade): ค่า Stress grade อยู่ที่ F7-F17 MPa ซึ่ง F14 นับว่าเป็นค่าที่รับได้ต่ำสุดสำหรับไม้ที่ใช้ทำโครงสร้าง แสดงให้เห็นว่าเนื้อไม้มีความตรงที่มาก ทนต่อการบิดงอได้ดี ใช้ในงานก่อสร้างได้ดีกว่า

7. น้ำหนัก: น้ำหนักทั่วไปหลังอบแห้งอยู่ที่ 470 kg/m³

8. การหดตัว: เนื้อไม้หลังการอบแห้งค่าหดตัวขนานเส้นสัมผัส (Tangential shrinkage) ประมาณ 5% และ มีค่าหดตัวแนวรัศมี (Radial shrinkage) มีค่า 1.9% นับเป็นค่าที่ต่ำ ไม้หดตัวได้ยากมาก

9. ยางไม้: European spruce มียางน้อยกว่า ทำให้ติดกาวได้ง่าย และย้อมสีได้ง่ายกว่า


ไม้สนรัสเซีย,ไม้สนนิวซีแลนด์,ไม้สน,ไม้สนนอก,ไม้สนนำเข้า

จากข้อมูลค่าต่างๆข้างต้น สามารถสรุปคุณลักษณะคร่าวๆของไม้ทั้งสองชนิดได้ดังนี้

ไม้สน Radiata pine นิวซีแลนด์ มีลายที่สวยงามชัดเจน มีวงปีที่ใหญ่กว่า และมีตาที่น้อยกว่าแต่กลับมีขนาดใหญ่กว่า เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ชื่นชอบลายไม้สนที่มีตาไม้ไม่มาก ขณะที่ความขาวสว่างนั้นยังคงด้อยกว่าไม้สน European spruce ทำให้ชิ้นงานที่ได้มีสีที่เข้มกว่า ย้อมสีได้ยากกว่า ในขณะที่คุณสมบัติอื่นๆ เช่น ความแข็งทนทานต่อรอยขีดข่วนบนพื้นผิวนั้นดีกว่า แต่การใช้งานสำหรับโครงสร้างกลับด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะไม้มีความตรงที่น้อยและรับน้ำหนักได้ไม่ดีเท่ากับ European spruce อีกทั้ง Radiata pine ยังมีความต้านทานการเสื่อมสภาพ ต้านเชื้อรา และ ต้านการผุพังที่ต่ำกว่า ทำให้มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า ประกอบกับไม้มีน้ำหนักมาก โครงสร้างที่ได้จึงมีน้ำหนักมากกว่า และด้วยอีกเหตุผลที่ไม้ถูกปลูกในเขตอบอุ่นกว่าที่ทำให้ไม้โตเร็ว ทำให้ไม้มีอายุน้อยกว่าอีกด้วย


ไม้สน European spruce รัสเซีย มีลายไม้ที่สวยงามชัดเจนเช่นกัน มีวงปีเล็กได้ลายที่ถี่กว่า และมีตาไม้เล็กกลมปริมาณมากกว่า เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ชื่นชอบการตกแต่งด้วยลายไม้และตาไม้ที่เล็กกลมสวยงาม พร้อมทั้งสีที่ขาวกว่าทำให้ได้ชิ้นงานที่ขาวสะอาดกว่า สีที่ขาวกว่าทำให้สีที่ย้อมไม่ผิดเพี้ยน และยางที่น้อยกว่ายังช่วยทำให้ย้อมสีได้ง่ายขึ้นด้วย ในขณะที่ไม้ชนิดนี้เป็นรอยได้ง่ายกว่า แต่ด้วยคุณสมบัติที่ไม้มีความตรง โก่งงอได้ยาก รองรับน้ำหนักได้ดี และที่สำคัญมีน้ำหนักที่เบากว่าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง European spruce นับเป็นหนึ่งในไม้ที่มีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนัก (Stregh/Weight Ratio) ดีที่สุด จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายสำหรับการทำโครงสร้างน้ำหนักเบา เช่น โครงบ้าน โครงหลังคา คาน หรือแม้แต่ทำศาลาขนาดเล็ก การใช้สำหรับตกแต่งภายใน เช่น ผนังหรือเพดานตกแต่ง ก็จะมีน้ำหนักที่เบามากกว่า โดยไม้สนของเรามีอายุ 80-120 ปี เพราะปลูกในเขตหนาว ทำให้มีคุณสมบัติที่แกร่งกว่าไม้สนชนิดนี้ที่ปลูกทั่วไปในยุโรปอีกด้วย


ไม้แต่ละชิ้นมีลักษณะเฉพาะตัว แน่นอนว่ามีบางชิ้นที่มีจำนวนตาน้อยกว่า มีบางชิ้นที่มีสีเหลืองมากกว่า บางชิ้นมีลวดลายสวยงามมากและน้อยคละกันไป หากลูกค้าเป็นช่างไม้มืออาชีพ หรือ DIY ที่ชำนาญ อาจต้องการมาที่สาขาของเราและเลือกชิ้นไม้ที่สวยงามกว่านี้ตามชิ้นงานของท่านได้ เพราะช่างไม้ส่วนใหญ่มักจะสั่งไม้ปริมาณมากๆ และใช้เวลาคัดเลือกไม้แต่ละชิ้นว่าควรวางในจุดไหน ชิ้นไหนควรวางติดกันและชิ้นไหนควรวางแยกกัน เพื่อลดความแตกต่างของสีและลวดลาย


ดู 131 ครั้ง

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page