จากแนวคิด “บ้านหลังที่ 2 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัว แม้ในยามเมื่อฝนมา ก็ยังคงดูอบอุ่น Cozy มากๆ”
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนเนินทางตอนใต้ของทะเลสาบคาลาฟเคน, ชิลี โดยได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจาก รูปทรงของโกดังเกษตรในท้องถิ่น
ด้วยรูปทรงเรขาคลิตแบบพื้นฐานทำให้ไม่รบกวนวิวธรรมชาติที่แวดล้อม เสมือนเป็นเพียงภาชนะชิ้นหนึ่งที่บรรจุ “เวลาพักผ่อน” ไว้อย่างเต็มที่สำหรับครอบครัว
จุดพิเศษสุดของการตกแต่งภายใน คือ การใช้โครงสร้างไม้สนที่สวยสะดุดตา และการวางตำแหน่งห้อง ให้เห็นวิวรอบๆของภูเขาไฟ Villarica อย่างเพลินตา
เรามาดูกันว่าบ้านหลังนี้ใช้ไม้แปรรูปอะไรสร้างกันบ้าง!!! และเราสรุปรวมในตอนท้ายให้ด้วย ถ้าอยากทำตามก็จัดกันไปเลยนะ
โครงสร้างบ้านไม้สน
เมื่อต้องการความแข็งแรง ทนทาน และการรองรับน้ำหนักที่ดี “ไม้สนประสาน” เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการทำโครงสร้าง
ข้อดีของไม้ชิ้นใหญ่คือการรองรับน้ำหนักได้มากขึ้นตามมวลของไม้ที่นำมาใช้ แต่ข้อจำกัดของการใช้ไม้ชิ้นใหญ่ๆ คือมักจะมีแรงดันภายในของไม้ที่มากตามไปด้วย ทำให้ไม้ชิ้นใหญ่ๆแตกและบิดงอได้ง่ายๆ
ไม้สนประสาน ผลิตโดยการนำไม้สนหลายๆชิ้นมาประสานกัน เพื่อให้ได้ไม้ชิ้นใหญ่ รองรับน้ำหนักได้มากขึ้น นอกจากนี้การประสานกันยังช่วยลดแรงดันภายในของไม้ได้ ทำให้ไม้ตรง ไม่บิดงอง่ายๆ
เสาและคานไม้สนประสานจึงเป็นตัวเลือกที่เยี่ยมในการสร้างบ้านหลังนี้
นอกจากนี้เรายังเห็น ”แผ่นไม้สนประสาน” ขนาดใหญ่ที่หน้ากว้างมากๆ บริเวณคานหลังคาที่ติดกับกระจกเพื่อรับแสงจากด้านบนอีกด้วย
ผนังและฝ้าเพดานไม้สน
ผนังและฝ้าเพดานที่สวยเรียบเนียนนี้ ตกแต่งโดยใช้ “ไม้ฝาสนรางลิ้นร่องวี”
ไม้ฝาสีขาวสะอาด และมีลายไม้สวยงามเป็นพิเศษจากเนื้อไม้สนแท้ๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไม้สนยุโรป เสริมการตกแต่งด้วยร่องวี ลึกเล็กยาวเป็นเส้นตรง เห็นได้ชัดเจนระหว่างแผ่นไม้
เป็นการตกแต่งที่สวย เรียบง่าย โทนสีที่นุ่มนวลให้ความรู้สึกถึงบ้านที่อบอุ่น และดู Cozy น่าอยู่อาศัยมากๆ
นอกจากนี้คานไม้สนข้างบนก็ยังคงเลือกใช้ไม้สนประสานจากจุดเด่นข้างต้น เสริมลูกเล่นด้วยด้วยการวางคานคั่นกลางสลับไขว้ไปมา
สำหรับชั้นสอง
เริ่มจากข้างล่าง “พื้นไม้สนรางลิ้น” พื้นไม้สนเหมาะมากๆสำหรับชั้นสอง เพราะไม้สนมี อัตราส่วน weight/strength ที่ดีมากๆ มีน้ำหนักเบามากกว่าไม้ทั่วไป แต่รองรับน้ำหนักได้ดี จึงเป็นไม้ที่นิยมนำมาทำองค์ประกอบของบ้านชั้นสอง ทำให้โครงสร้างบ้านไม่ต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไปนั่นเอง
เรายังเห็น “ไม้โครงสน” เพิ่มมาด้วย นำมาประกบเป็นโครงหน้าต่าง เสริมความสวยงามได้อย่างง่ายๆ ด้วยลายของไม้สน
นอกจากนี้ “ไม้แปรรูป” ก็ถูกนำมาใช้ด้วย โดยจะเห็นขนาด 4 นิ้ว ที่ขอบคิ้วด้านบนของหน้าต่าง และขนาด 6 นิ้ว ที่นำมาใช้เป็นคานไม้สนขนาดเล็ก เสริมความแข็งแรงของโครงหลังคาและเพิ่มการตกแต่งโครงหลังคาให้ดูซับซ้อนไปพร้อมกัน
มาดูวิวสวยๆ ของบ้านหลังนี้กันชัดๆ ตั้งอยู่ข้างทะเลสาบคาลาฟเคน ถูกออกแบบให้ไม่เด่นจนเกินไป กลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อมรอบด้าน เพื่อให้เต็มอิ่มกับการพักผ่อนในฤดูใบไม้ผลิที่ชุ่มฉ่ำ
เรายังสามารถมองเห็นการใช้ไม้สนตกแต่งภายนอกด้วยนะ โดยใช้ไม้แปรรูปขนาดประมาณ 6 นิ้ว หรือ 8 นิ้ว มาวางซ้อนกันเป็นบานเกล็ด หรือ Cladding สร้างความแตกต่างของสีสัน ระหว่างหน้าบ้านและข้างบ้าน
สรุป บ้านไม้สนหลังนี้ใช้ไม้สนแปรรูปอะไรสร้างบ้าง?
1. ไม้สนแปรรูป 4” และ 6” ไม้แผ่นมาตรฐาน ใช้งานได้หลากหลาย เรามีไซส์หน้า 8” ด้วยนะหากต้องการหน้าที่กว้างขึ้น
2. ไม้โครงสนมีหลากหลายไซส์ เลือกได้ตามความเหมาะสม
3. เสาไม้สนประสาน เราแนะนำความหนา 4” x 6” หรือ 6” x 6” หนา ทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี ตรง ไม่บิดงอ
4. แผ่นไม้สนประสาน เรามีหน้ากว้างถึง 2” x 12” เหมาะมากๆตามรูปแบบคานไม้บริเวณหลังคากระจกรับแสงที่บ้านหลังนี้ใช้
5. ไม้ฝาสนรางลิ้นร่องวี มีหน้ากว้าง 4”, 5” และ 6” ให้คุณได้เลือกตามต้องการ มีรางลิ้นง่ายต่อการติดตั้ง และสามารถซ่อนตะปูใต้รางลิ้นได้ ต่อกันเป็นผืนเดียวโดยไร้รอยตะปู
6. ไม้พื้นสนรางลิ้น ด้วยความหนา 1” และมีรางลิ้นที่ออกแบบเป็นพิเศษ ที่ด้านบนแนบชิดเป็นเนื้อเดียวกันยิ่งกว่ารางลิ้นทั่วไป รองรับน้ำหนักได้ดี น้ำหกก็ไม่ซึมลงใต้พื้นไม้ แต่มีช่องว่างภายใต้เพื่อกันไม้ขยายตัว พื้นไม่โก่งหรือบวมง่ายๆ เพิ่มอายุใช้งานที่ยาวนานกว่า
Comments