top of page
รูปภาพนักเขียนAdmin

สกรูสำหรับงานไม้ มีแบบไหนบ้างไปดูกัน

สกรูถูกคิดค้นและพัฒนามาจากตะปูเพื่อใช้กับงานไม้โดยเฉพาะ แต่ปัจจุบันสกรูก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ เพื่อรองรับวัสดุที่หลากหลายในปัจจุบัน วันนี้เราจะมาพูดถึงสกรูที่ใช้กับงานไม้กัน





โดยส่วนประกอบของสกรูจะประกอบด้วย 4 ส่วน คือ


-หัว ส่วนนี้จะประกอบด้วย 2 องค์ประกอบที่มีความแตกต่างกันในแต่ละแบบคือ รูปทรงของหัวสกรู และรูปแบบของรูไข

โดยรูปทรงของหัวสกรูที่เคยเห็นใช้ในงานไม้จะแบ่งหลัก ๆ ได้ 5 ชนิดคือ

หัวแบน, หัวบาน (Flat, Taper)

หัวนูน (Oval)

หัว P (Pan)

หัวกลม (Round)

หัวหกเหลี่ยม (Hexagon)

ส่วนรูปแบบของรูไขรูที่เคยเห็นใช้ในงานไม้ ก็จะแบ่งได้ 4 แบบ

รู 2 แฉก/รูแบน (Slot)

รู 4 แฉก PH (Phillip)

รู 4 แฉก PZ (Pozidriv)

รูหกเหลี่ยม (Hexagon)

-ก้าน ส่วนนี้จะไม่มีเกลียว อาจเอาไว้สำหรับแขวนสิ่งของ หรือช่วงระยะของรูที่ไม่จำเป็นต้องใช้เกลียว หรือใช้กับตัวจิ๊กเจาะเอียง Pocket-Hole Jig


-เกลียว (แบ่งเป็น 2 ประเภท คือเกลียวหยาบสำหรับงานไม้ และเกลียวละเอียดสำหรับงานเหล็ก)


-ปลาย (แบ่งเป็น 2 ประเภท คือปลายแหลมสำหรับงานไม้ และปลายสว่านสำหรับงานเหล็ก)


โดยจริง ๆ แล้วสกรูที่มีขายตามท้องตลาดยังมีอีกมากมายหลายชนิดมาก ๆ เราเพียงหยิบยกในส่วนที่นิยมใช้กับงานไม้มาให้ทุกคนได้เข้าใจกันเพื่อการใช้งานที่เหมาะสมของทุก ๆ คนนั่นเอง




แน่นอนว่าสกรูที่นิยมมากที่สุดคือสกรูที่มีรูไขแบบแฉก และจากภาพก่อนหน้านี้มันก็จะมีรูแฉก 2 แบบ ที่มีความใกล้เคียงกัน แต่จริงๆแล้วมีรายละเอียดในการใช้งานที่แตกต่าง และจำเป็นต้องใช้หัวไขควงให้ถูกประเภทเพื่อให้ได้การใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ

หัว แฉก PH หรือหัว Phillips จะเป็นสกรูแบบดั้งเดิมที่มีรอยบากกากบาท

หัวแฉก PZ หรือหัว Pozidriv จะมีรอยบากเล็ก ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก 4 แฉก รวมเป็น 8 แฉก ซึ่งหัวสกรูแบบนี้เหมาะกับงานที่ต้องใช้แรงไขสูงขึ้น


และแน่นอนว่าควรเลือกใช้หัวไขควงให้ถูกประเภทเพื่อให้ตัวสกรูยึดชิ้นงานได้แน่นเต็มประสิทธิภาพ และป้องกันหัวสกรูเสียหายนั่นเอง




การเลือกความยาวของสกรูที่เหมาะสมกับความหนาของไม้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง วันนี้เราเลยสรุป ความยาวของสกรูที่เหมาะสมมาให้แล้ว เซฟติดมือถือ หรือ แชร์ให้เพื่อนได้เลย


และถ้าเพื่อน ๆ อยากหาไม้สนคุณภาพดีไว้ใช้งาน หรือติดตามเกล็ดความรู้งานไม้ ก็เข้ามาดูที่ https://www.sakwoodworks.com ได้เลย มีไม้หลายประเภทให้คุณได้เลือกนำไปใช้



ดู 2,035 ครั้ง

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page