ไม้ เหล็ก คอนกรีต . . . วัสดุไหนปล่อย CO2 น้อยที่สุด !!!?🤔
🔹มีผลการวิจัยชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ เพราะการวิจัยนี้ศึกษาจากการใช้งาน ทั้งไม้ เหล็ก และคอนกรีต เพื่อมาทำโครงสร้างบ้าน และยังมีการเก็บข้อมูลทางสถิติของวัสดุทั้ง 3 นี้ในการสร้างบ้านในแถบนอร์ดิก (Norway, Sweden, Finland) อีกด้วย
🔹ผลการวิจัยพบว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากทั้ง 3 วัสดุมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนี้
- โครงไม้ 96 กก./ลบ.ม (11%)
- โครงเหล็ก 209 กก./ลบ.ม (23%)
- โครงคอนกรีต 602 กก./ลบ.ม (66%)
โดยผลลัพธ์นี้ยืนยันว่า”โครงสร้างไม้”มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำที่สุด ซึ่งทำให้เป็นโครงสร้างบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับโครงเหล็กและโครงคอนกรีต (ทดลองในประเทศกลุ่มนอร์ดิก)
🤔 ว่าแต่ทำไม?… “ไม้” ถึงปลดปล่อย CO2 น้อยกว่าวัสดุอื่น?
🔹คำตอบก็คือ… “ไม้”เป็นวัสดุธรรมชาติที่ต้องการกระบวนการแปรรูปน้อยมากๆ เพื่อมาทำโครงสร้างบ้าน (ใช้คำว่า by far the lowest เลยทีเดียว) เมื่อเทียบกับวัสดุอย่างเหล็ก และคอนกรีต
🔹โดยเหล็กต้องการพลังงาน และความร้อนที่สูงเพื่อถลุงและขึ้นรูป ในขณะที่คอนกรีตก็ใช้ความร้อนที่สูงมากเพื่อเผาหินปูนให้เกิดเม็ดปูน (clinker) ตามปฏิกิริยาเคมีเพื่อทำปูนซีเมนต์ ซึ่งกระบวนการทั้งสองนี้ใช้ถ่านหินจำนวนมาก ที่ตามมาด้วยการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ปริมาณมหาศาล แตกต่างจากไม้ที่ใช้พลังงานในการจัดการวัสดุที่น้อยกว่าหลายเท่า
💙…ที่น่าสนใจขึ้นไปอีกสำหรับงานวิจัยนี้ เขายังมีการสัมภาษณ์ผู้รับเหมาในประเทศทั้ง 3 อีกด้วย ว่าเลือกใช้วัสดุไหนเพราะอะไร?🧐
ซึ่งคำตอบก็ไม่ได้แย่ซักเท่าไหร่นะ โดยมีผู้รับเหมาส่วนหนึ่งไม่ได้สนใจการปล่อยก๊าซ CO2 ซักเท่าไหร่นัก แต่กลับเลือกโดยอ้างอิงจากวัสดุที่ดีที่สุด ใช้ง่ายที่สุด และคุ้มค่าที่สุดสำหรับโครงการของพวกเขา ซึ่งก็คือ “ไม้” ไปซะอย่างงั้น…😅😅😅
🌲SAK WoodWorks ขอรณรงค์ให้ผู้คนสนใจปัญหาโลกร้อนกันมากขึ้น… เพราะหน้าร้อนที่ผ่านมาแอดมินร้อนมากก พอฝนตกก็รุนแรงมากเช่นกัน ซึ่งคิดว่าทุกคนก็คงจะสัมผัสได้ สภาพอากาศที่แปรรปรวนนี้ สาเหตุหลักๆก็มาจากมนุษย์อย่างเราๆนี่เอง ที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป… มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรักษ์โลกของเราโดยเลือกใช้สินค้าที่ปลดปล่อย CO2 ให้น้อยลงกันเถอะ!
📍Reference
Bahrami, Alireza, et al. “Carbon Dioxide Emissions from Various Structural Frame Materials of Single-Family Houses in Nordic Countries.” International Journal of Innovative Research and Scientific Studies, vol. 5, no. 2, 28 Apr. 2022, pp. 112–120, https://doi.org/10.53894/ijirss.v5i2.414
Comments